แมวไทย (Thai cat) หรือที่บางครั้งเรียกว่า “แมวไทยแท้” เป็นพันธุ์แมวที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะคล้ายกับแมววิเชียรมาศ (Siamese cat) แต่มีความแตกต่างในด้านรูปร่างและลักษณะของขน
ประวัติสายพันธุ์ แมวไทย
แมวไทย ขนสั้น (Domestic Shorthair : DSH) นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เนื่องจากเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมตั้งแต่โบราณ และยังมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ยังคงมีในปัจจุบัน ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า ‘ย้อมแมวขาย’ หรือ ‘ยื่นหมูยื่นแมว’ และ ‘ปิดประตูตีแมว’ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าแมวไทยมีประวัติความเป็นมายาวนาน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการแยกลักษณะแมว ถือว่าเป็น “ตำราดูลักษณะแมว” เล่มแรกที่ได้ทำการแยกแมวไทยตามลักษณะนิสัย หรือบุคลิกของแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย โดยแบ่งเป็นแมวมงคลและแมวให้โทษทั้งหมด 23 สายพันธุ์ (เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์) เหตุที่แบ่งเป็นแมวให้คุณกับแมวให้โทษนั้น เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณโดยดูว่าเลี้ยงแล้วจะนำสิ่งที่ดี ๆ หรือสิ่งชั่วร้ายมาสู่ผู้เป็นเจ้าของหรือไม่ ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง และรักเจ้าของเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้แมวไทยยังได้รับนิยมเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางกายภาพ
แมวไทยขนสั้น เป็นแมวขนาดกลาง โดยหัวมีลักษณะโครงสร้างยาวสมส่วนปราดเปรียว มีลำตัวขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บวกกับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและคล่องตัวของพวกมัน จนบางครั้งก็ได้รับฉายาว่า แมวขโมย อีกทั้งโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อที่มีความยืดหยุ่นสูง ดวงตากลมขนาดใหญ่ คอและลำตัว ขาเรียวเล็ก อุ้งเท้ากลม หางยาว ขนสั้นที่เป็นจุดเด่น ขนมีลักษณะบางเบา และนุ่มคล้ายเส้นไหม โดยสีขนสามารถพบได้หลากหลายสี และหลายแบบ ขนาดของแมวไทยโดยทั่วไปไม่ได้ระบุความสูงมาตรฐานเอาไว้แน่ชัด แต่แมวเพศผู้อาจตัวใหญ่กว่าเพศเมียเล็กน้อย และมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 กิโลกรัม
อายุขัย
แมวไทยขนสั้น โดยทั่วไปมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20 ปี หรือมากกว่านั้น
ลักษณะนิสัย
แมวไทยมีความฉลาด เลี้ยงง่าย มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ ที่สำคัญรักความอิสระของตัวเองเป็นอย่างมาก ได้ชื่อว่าเป็นแมวที่ชอบหนีเที่ยวเป็นประจำ เพราะ เป็นแมวที่ชอบเข้าสังคม ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น
การเข้ากับเด็ก
แมวพันธุ์ไทยสามารถเข้ากับเด็กได้ดี ด้วยเป็นแมวที่ชอบเล่นและมีความขี้เล่นอยู่แล้ว และยังมีนิสัยชอบอยู่ใกล้กับเจ้าของ จึงเข้ากับครอบครัวได้ง่าย เหมาะสำหรับการนำมาเลี้ยงอยู่กับเด็ก หรืออาจเลี้ยงร่วมกับสัตว์เลี้ยงอื่นได้
การดูแล
การออกกำลังกาย
พวกมันมีนิสัยที่ขี้เล่น และยังชอบทำกิจกรรม การให้แมวออกกำลังกายยังมีประโยชน์เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระบบกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และยังช่วยพัฒนาสมองอีกด้วย นอกจากนั้นยังช่วยลดภาวะเครียดเมื่อแมวต้องอยู่ลำพัง
อาหาร
เพียงให้อาหารที่เหมาะสมและมีปริมาณแคลอรี่ที่เพียงพอต่อสัตว์ โดยเลือกสารอาหารที่จำเป็น และมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายและกิจกรรมในแต่ละวันของแมว รวมถึงควรให้อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีและความสวยงามของแมวด้วยเช่นกัน
โรคประจำพันธุ์
- โรคผิวหนัง
- โรคผิวหนังจากหมัดแมว (Fleas)
- การติดเชื้อรา (Dermatophytosis)
- โรคระบบโครงกระดูก ข้อต่อ และโครงสร้าง
- โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip Dysplasia)
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคหอบหืด (Asthma)
- หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)
- โรคระบบทางเดินอาหาร
- ปัญหาสุขภาพช่องปาก
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคหวัดแมว (Rhinotracheitis)
- โรคมะเร็ง แมวไทย